Moun-Model

หลักสูตร อีคอมเมิอร์ช และ พัฒนาแอปโมบาย เปิดรับสมัคร 1 เมษายน -15 พฤษภาคม 67

บทที่ 5 Keyword Planner

 อบรมอีคอมเมอร์ช การใช้GOOGLE KEYWORD PLAN 

Google Keyword Planner คือ เครื่องมือค้นหาคำหลักในการจะทำโฆษณาหรือทำเว็บ คงไม่ดีแน่ถ้าหากเราจะลงโฆษณา หรือ ทำเว็บขึ้นมาสักอัน เพื่อต้องการให้คนจำนวนมากได้เห็นหรือค้นหาในGoogleแล้วเจอเว็บหรือโฆษณาของเรา หากเราลงโฆษณาด้วยคำ(keyword)ที่ไม่มีคนค้นหาเลยถึงจะทำให้ค้นหาได้ง่าย แต่จำนวนคนที่ค้นหาก็น้อยเหลือเกิน หรือหากลงคำโฆษณา(keyword) ที่มีการแข่งขันสูงถึงจะมีคนค้นหาด้วยคำนั้นมาก แต่ก็ยากที่โฆษณาหรือเว็บของเราจะสามารถต่อสู้กับเว็บที่ติดอันดับมาก่อนแล้วได้ ถึงจะได้แต่ก็ยากและต้องใช้พลังงานเยอะเลยทีเดียว
สำหรับคนที่ทำ Google Adwords แล้วปัญหาหนึ่งที่น่าจะหนักใจ เป็นอันดับแรก คือ การเลือก keyword แบบไหนดีที่จะเหมาะ สมกับเว็บไซต์ และ สินค้า บริการ ของเราหากเป็นมือใหม่ในการทำ Google Adwords โดยที่ไม่ได้จ้างบริษัทมืออาชีพทำ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีวิธีการหา keyword ที่ดี เพราะ keyword ที่ดีจะเป็นเหมือนการกำหนดเป้าหมายที่ถูกต้อง หากเลือก keyword ที่ไม่ดีพอก็เหมือนกับการโยนเงินทิ้ง หรือ เสียเวลากับการทำ google adwords เสียเปล่าๆโดยเราจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรู้จักเครื่องมืออย่าง Google keyword Planner ที่สามารถวิเคราะห์ และ เลือกสรรค์ keyword ให้เราได้ดีมากตัวหนึ่ง https://adwords.google.com/ko/KeywordPlanner/Home‎
โดยคุณสมบัติของ มัน คือ การวิเคราะห์ ปริมาณค้นหาข้อมูลรายเดือนจาก keyword นั้นๆ และ ราคาต่อคลิกใน keyword นั้น ให้เราสามารถรู้ได้ว่า keyword ไหนมีปริมาณการค้นหามากน้อยเพียงใด และ ราคา ค่าใช้จ่ายที่เราต้องใช้นั้นควรมากน้อยเพียงใด

Google Keyword Planner หา Keyword


ใน Keyword Planner จะมี Function นึงที่ให้เราสามารถใส่ชื่อ Website ของเราลงไปและทำการเลือกให้ Keyword Planner ทำการแนะนำ Keyword ที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ของเรา โดย Keyword Planner จะทำการตรวจสอบว่าในหน้าเว็บไซต์ของเราเหมือนการสแกนจากส่วนประกอบต่างๆในว่ามี Keyword อะไรอยู่บ้าง ก่อนที่จะแนะนำ Keyword ที่เกี่ยวข้องเพิ่มให้เรา ซึ่งปกติวิธีนี้ หลายๆคน มักจะใช้ในการขโมยคีเวิดจาก Website คู่แข่ง ^___^ (ใส่ชื่อเว็บไซต์ หรือ URL ของคู่แข่งลงไป)
Keyword Suggestion เหมาะสำหรับนำมาเขียน Content ในเว็บไซต์หลักของเรา เพราะเป็น Keyword ที่คนส่วนใหญ่ใช้จริง และค้นหาจริง มี Conversion ค่อนข้างดี เป็น keyword ที่เอาใจผู้ใช้งาน เข้าถึงผู้ใช้งานได้มากกว่า  Keyword Ideas เหมาะสำหรับนำไปสร้าง Content สำหรับทำ Back link เพิ่มความแรงให้กับเว็บไซต์ของเรา Keyword Ideas นี้ิเป็น Keyword ที่เอาใจ google ทำให้ google รักเว็บของเรา มองเว็บเรามีคุณภาพ

  Google AdWords  Keyword Planner

สำหรับวิธีเข้าใช้บริการ Keyword Planner ท่านสามารถค้นหาลิงค์ใน Google ด้วยคำค้นว่า Keyword Planner ซึ่งจะพาท่านเข้าสู่หน้าหลักของบริการ Google AdWords ก่อน
จากนั้นให้ท่านล็อกอินด้วย Google Account (สมัครฟรี) ก่อน แล้วไปที่เมนู "Tools" และคลิกตัวเลือก "Keyword Planner" ทำการพิมพ์Keyword ที่คิดไว้เข้าไปในเครื่องมือ Keyword Planner และกำหนดประเทศ ภาษาที่ต้องการใช้ในการโปรโมท
1. ก่อนอื่นเลยเราจะต้องมีบัญชีของ Gmail ก่อน ซึ่งสามารถสมัครได้ง่ายๆ ไม่ต้องผ่านขั้นตอนมากมายเพียงแค่เรากรอกข้อมูลที่ถูกต้องของเรา เมื่อเราสมัครใช้งาน Gmail เรียบร้อยแล้ว จึงจะดำเนินการใช้งาน Keyword Tool ได้
 เข้าหน้าเว็บไซต์ adwords.google.com ลงทะเบียนเข้าใช้
ไปที่หน้าแรกของ AdWords ที่ https://adwords.google.com และคลิกลองใช้ AdWords ตอนนี้ ในหน้า “สร้างบัญชี Google” ให้เลือกปุ่มถัดจากฉันไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์อื่นๆ เหล่านี้ สร้างบัญชีโดยการสร้างที่อยู่อีเมลและรหัสผ่านที่ใช้ได้จริง เราแนะนำให้คุณเลือกรหัสผ่านที่ยากต่อการขโมย ซึ่งจะเป็นการป้องกันบัญชีของคุณจากไฮแจ็คเกอร์ได้ดีขึ้น ป้อนตัวอักษรที่บิดเบี้ยวในช่องด้านล่างข้อมูลรหัสผ่านของคุณในส่วนนี้เป็นการทดสอบว่าใช่มนุษย์หรือไม่  หลังจากนั้นกดปุ่ม “คลิกสร้างบัญชี” .ให้ทำการเลือกประเทศ เขตเวลา และสกุลเงินที่คุณต้องการสำหรับบัญชีของคุณ เรากำหนดการเรียกเก็บเงินและสถิติของคุณตามเขตเวลาที่คุณเลือก ดังนั้นโปรดเลือกอย่างรอบคอบ คุณไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเขตเวลาได้หลังจากตั้งค่าแล้ว สกุลเงินที่คุณเลือกจะใช้เพื่อเรียกเก็บเงินจากคุณและจะใช้ในรายงานประสิทธิภาพของคุณด้วย คุณไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสกุลเงินได้หลังจากการตั้งค่านี้ เมื่อเสร็จแล้วกดปุ่ม คลิกดำเนินการต่อ .หาอีเมลยืนยันในที่อยู่อีเมลที่คุณเพิ่งใช้ในการลงทะเบียน AdWords คลิกลิงก์สำหรับการยืนยันในอีเมลเพื่อเปิดใช้งานบัญชีของคุณ
ไปที่ Menu bar ด้านบน มองหาคำว่า Tools และคลิกที่ “Keyword Planner” และใส่ชื่อเว็บไซต์ที่เราต้องการดึงคีเวิดจากเว็บไซต์นั้น แล้วกด SEARCH


2. ตัวอย่างคีเวิดของเว็บไซต์ที่ Keyword Planner ทำการดึงออกมาให้เรา พร้อมทั้งแสดงจำนวนการค้นหาต่อเดือนของคีเวิด


3. หน้าจอที่ปรากฏจะมี list ของ menu ทางด้านซ้ายมือขึ้นมา 4 แถบ แต่ละแถบเขียนข้อความยาว ๆ
ให้คลิกที่แถบแรก ซึ่งเขียนว่า “search for new keyword and ad group ideas”
เมื่อคลิกแล้ว จะพบว่ามีช่องให้กรอกข้อมูลต่าง ๆ มากมาย
ช่องบนสุด ใต้หัวข้อ “Product or Service”
ให้เติม keyword ของสิ่งที่เราต้องการหาลงไป
ส่วนช่องอื่น ๆ ให้ตั้งค่า หรือกรอกข้อมูลตามที่เราอยากรู้ หรือจะไม่กรอกก็ได้
4. หลังจากกรอกข้อมูลตามภาพด้านบน และกดปุ่ม “Get ideas” เมื่อกรอกเสร็จ จะพบหน้าจอเป็นดังภาพด้านล่าง
ตารางที่ปรากฎจะมีข้อมูลบอก
เช่น
4.1 กราฟจิ๋ว เมื่อเอาเมาส์ไปวางจะเห็นกราฟ/แผนภูมิข้อมูลการค้นหารายเดือน
4.2 Avg. monthly searches แปลว่า จำนวนครั้งการค้นหาเฉลี่ยต่อเดือน
4.3 Competition แปลว่าการแข่งขันที่จะขึ้นมาอยู่ link แรกของการโฆษณา ถ้ามีคนจ่ายค่าโฆษณาที่ผูกกับ keyword นี้เยอะ จะขึ้นคำว่า high, และถ้าไม่ค่อยมีคนโฆษณาผูกกับ keyword นี้ จะขึ้นคำว่า Low
4.4 Suggested bid จะมีข้อมูลตัวเลขที่มีหน่อวยเป็นเงินขึ้นมาให้ดู จำนวนเงินนี้ คือจำนวนเงินการจ่ายต่อ 1 คลิก (Pay per click) ที่จะสามารถทำให้ โฆษณาของเราขึ้นไปอยู่ในหน้าแรกของ Google














การใช้งาน Keyword Suggestion และ Keyword Ideas ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
Keyword Suggestion เหมาะสำหรับนำมาเขียน Content ในเว็บไซต์หลักของเรา เพราะเป็น Keyword ที่คนส่วนใหญ่ใช้จริง และค้นหาจริง มี Conversion ค่อนข้างดี เป็น keyword ที่เอาใจผู้ใช้งาน เข้าถึงผู้ใช้งานได้มากกว่า
Keyword Ideas เหมาะสำหรับนำไปสร้าง Content สำหรับทำ Back link เพิ่มความแรงให้กับเว็บไซต์ของเรา Keyword Ideas นี้ิเป็น Keyword ที่เอาใจ google ทำให้ google รักเว็บของเรา มองเว็บเรามีคุณภาพ
วิธีใช้ร่วมกันหลักๆคือ
  1. ใช้ Scrapebox หา Keyword Suggestion
  2. นำ Keyword Suggestion ที่ได้ ไปใส่ใน Google Keyword Planner แล้ว Download Keyword Ad Group ออกมา
  3. ให้เราใช้ ในรูปแบบ Excel ดูว่า Keyword Suggestion ของเราอยู่ใน Ad Group ไหน ให้ Copy Keyword ของ Ad Group นั้นทั้งหมด                                                                                                                                                                                                                                                                            วิเคราะห์และเลือก Keyword โดยวิธี Keyword Research
http://www.reboostseo.com/p/keyword-research.html


วิธีเช็ค keywords ของเราว่าอยู่หน้าไหนใน Google  ผมมี 3 เว็บมาฝากครับ


http://rankchecker.net/Default.aspx เว็บนี้เช็คได้กับ google.com, yahoo, msn

http://smallseotools.com/

https://serps.com/tools/rank_checker เว็บนี้เช็คได้ทั้ง google.co.th (ประเทศไทย) ,  google.com และ google ประเทศอื่นๆ ด้วย

สมัคร google Adsense โดยใช้  blogger
อันนี้คือ เหตุผลหลักเลยนะครับ ที่อยากจะนำมาเสนอให้ทุกคนได้ทราบ เพราะมันง่ายมากที่จะได้รับการ Approve บ่อยครั้งที่ผมเห็นคนเขียนถามคนอื่นว่า ทำอย่างไรถึงจะสมัคร Adsense ผ่าน ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่ปัญหาเลย ขอให้มี gmail.com ก่อนเป็นอันดับแรก แล้วหลังจากนั้นขึ้นกับเราที่จะเตรียมตัวเพื่อการนี้โดยเฉพาะผมขอเอา คร่าวๆ ก่อน

สมัคร google Adsense โดยวิธีใดบ้าง
ข้อนี้ตอบง่ายคือ มีอยู่ วิธี นะครับ คือ
1. ใช้เว็บไซต์ ที่ตัวเองเป็นเจ้าของอยู่ 
2. ช้บล็อกเกอร์/blogger อย่างที่ผมทำอยู่นี่แหละครับ 
3. ใช้เทคนิคการซับมิตบทความใน http://www.docstoc.com/doccash/join/
เห็นไหมครับ เราสามาถใช้อะไรได้หลายวิธีที่จริงมีอีกหลายอย่าง แต่เป็น แบบเทาๆ ไม่ขอเสนอนะครับ แบบนี้ดีกว่า เราสามารถทำได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องเสียตังส์ให้ใคร 
1. สมัครเข้าร่วม google Adsense โดยคลิกที่ Earnings (รายได้)  ในบล๊อคของฉัน


2. Sign up for Adsense ลงชื่อเพื่อสมัครเข้าร่วมกับ google Adsense
ไม่ต้องอ่านอะไรก็ได้หน้านี้ มีแค่เพียง ขั้นตอน ก็จะเสร็จการสมัครครับ คลิกที่ Sign up for Adsense
3. การสร้าง Account กับ Sign up for Adsense
. Submit your application ส่งข้อมูลของเรา
เมื่อกรอกใบสมัครเหล่านี้เสร็จแล้วก็ ซับมิต ไปเลย แล้วก็รอดู อีเมล ที่เขาจะส่งมาให้ ซึ่งจะมีคำตอบอยู่ กรณี คือ
1. รับคุณเข้าร่วม ก็แสดงว่า การสมัครเข้าร่วมกับ google Adsense ของคุณ ผ่าน
2. บอกว่า เราขอพิจารณา/บล็อกคุณไม่ตรงกับเป้าหมาย หรืออะไรก็แล้วแต่จะแถ ก็แสดงว่า ไม่ผ่าน
ถ้าของคุณไม่ผ่านก็อย่าเพิ่งคลิกเข้าไปใหม่นะครับรอสักระยะก่อน โดยช่วงนั้น คุณก็ โพสต์ข้อความไปเรื่อยๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น